ยินดีต้อนรับ สู่บทความรู้ เรื่องระบบนิเวศ

การถ่ายทอดพลังงาน

การถ่ายทอดพลังงาน


        คาร์บอนและพลังงานซึ่งรวมอยู่ในเนื้อเยื่อพืช (การผลิตปฐมภูมิสุทธิ) ถูกสัตว์บริโภคขณะพืชยังมีชีวิต หรือยังไม่ถูกกินเมื่อเนื้อเยื่อพืชตายและกลายเป็นซากสลาย ในระบบนิเวศบนดิน การผลิตปฐมภูมิสุทธิราว 90% ถูกตัวสลายสารอินทรีย์สลาย ส่วนที่เหลือไม่ถูกสัตว์บริโภคขณะยังมีชีวิตแล้วเข้าสู่ระบบโภชนาการที่มีพืชเป็นฐาน ก็ถูกบริโภคหลังตายแล้วแล้วเข้าระบบโภชนาการที่มีซากสลายเป็นฐาน ในระบบในน้ำ สัดส่วนชีวมวลพืชที่ถูกสัตว์กินพืชบริโภคมีสูงกว่ามาก ในระบบโภชนาการ อินทรีย์สังเคราะห์ด้วยแสงเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิ อินทรีย์ที่บริโภคเนื้อเยื่อของผู้ผลิตปฐมภูมิ เรียก ผู้บริโภคปฐมภูมิ ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง หรือผู้ผลิตทุติยภูมิ คือ สัตว์กินพืช สัตว์ที่กินผู้บริโภคปฐมภูมิ คือ สัตว์กินเนื้อ เป็นผู้บริโภคทุติยภูมิหรือผู้บริโภคลำดับที่สอง ผู้ผลิตและผู้บริโภคเหล่านี้ประกอบเป็นระดับโภชนาการ ลำดับการบริโภค ตั้งแต่พืชถึงสัตว์กินพืช ถึงสัตว์กินเนื้อ ก่อเป็นโซ่อาหาร ระบบจริงซับซ้อนกว่านี้มาก โดยทั่วไปอินทรีย์จะกินอาหารมากกว่าหนึ่งรูป และอาจกินที่ระดับโภชนาการมากกว่าหนึ่งระดับ สัตว์กินเนื้ออาจจับเหยื่อบางส่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบโภชนาการที่มีพืชเป็นฐาน และบางส่วนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบโภชนาการที่มีซากสลายเป็นฐาน เช่น นกกินทั้งตั๊กแตนซึ่งเป็นสัตว์กินพืช และไส้เดือนดินซึ่งบริโภคซากสลาย ระบบจริงที่มีบรรดาความซับซ้อนเหล่านี้ ก่อสายใยอาหารแทนโซ่อาหาร

EnergyFlowTransformity.jpgEnergyFlowFrog.jpg                                    

ซ้าย:
 แผนภาพการถ่ายทอดพลังงานของกบ กบเป็นสัญลักษณ์ของปม (node) หนึ่งในสายใยอาหารขยาย พลังงานจากการกินถูกใช้ประโยชน์เพื่อกระบวนการเมแทบอลิซึมแล้วแปลงเป็นชีวมวล การถ่ายทอดพลังงานดำเนินวิถีของมันต่อหากกบถูกนักล่าหรือปรสิตกินต่อ หรือถูกกินเป็นซากสลายในดิน แผนภาพการถ่ายทอดพลังงานนี้แสดงวิธีที่พลังงานเสียไปเพื่อเป็นเชื้อเพลิงกระบวนการเมแทบอลิซึมซึ่งแปลงพลังงานและสารอาหารเป็นชีวมวล
ขวา: โซ่อาหารพลังงานเชื่อมโยงสามขยาย (1. พืช 2. สัตว์กินพืช 3. สัตว์กินเนื้อ) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแผนภาพการถ่ายทอดอาหารและสัดส่วนการแปลงพลังงาน (transformity) สัดส่วนการแปลงพลังงานลดลงจากคุณภาพสูงกว่าเป็นคุณภาพต่ำกว่าเมื่อพลังงานในโซ่อาหารไหลจากชนิดโภชนาการหนึ่งไปอีกชนิดหนึ่ง อักษรย่อ: I=สิ่งป้อนเข้า, A=การนำอาหารไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ, R=การหายใจ, NU=ไม่ถูกใช้ประโยชน์, P=การผลิต, B=ชีวมวล



วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ



photo 1 (1)
              โดยทั่วไปในสภาวะแวดล้อมจะมีแร่ธาตุและสารต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตไม่เพียงแต่ใช้ แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติ แต่กิจกรรมการดำรงชีวิตก็มีการปล่อย สารบางอย่างกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วย วนเวียนกันเป็นวัฏจักร อย่างไรก็ตามถ้าระบบการหมุนเวียนสารหรือวัฏจักรของสารนี้ถูกรบกวน นั่นคือระบบนิเวศถูกรบกวน ย่อมมีผลต่อระบบนิเวศนั้น รวมทั้งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศอื่นๆอีกด้วย



วัฏจักรไนโตรเจน
photo 2 (1)
ไนโตรเจนเป็นธาตุสำคัญเพราะเป็นองค์ประกอบของโปรตีนในสิ่งมีชีวิต  และพืชยังใช้ไนโตรเจนในรูปของสารประกอบเกลือแอมโมเนียม  เกลือไนไตรท์   และเกลือไนเตรต  เพื่อนำไปสร้างสารประกอบต่างๆภายในเซลล์ได้อีก  แหล่งสะสมที่สำคัญคือ  แก๊สไนโตรเจนในบรรยากาศซึ่งมีประมาณร้อยละ 78  ของแก๊สทั้งหมดที่มีอยู่ในอากาศ  ไนโตรเจนมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักร  เรียกว่า  วัฏจักรไนโตรเจน (nitrogen  cycle)  วัฏจักรไนโตรเจนประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญคือ  การเปลี่ยนสารประกอบไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย  (ammonification)  และ  การเปลี่ยนเกลือแอมโมเนียมเป็นไนไตรท์และไนเตรต (nitrification)  และ  การเปลี่ยนไนเตรตกลับเป็นแก๊สไนโตรเจนในบรรยากาศ (denitrification)  
photo 3 (1)
วัฏจักรคาร์บอน
คาร์บอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกพืชนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบในพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ได้รับสารที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบโดยการกินอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ก็ได้รับสาร คาร์บอนจากกระบวนการย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยการหายใจออกในรูปของคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งพืชก็นำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงอีก ในระบบนิเวศ จึงมีการหมุนเวียนคาร์บอนตลอดเวลา
photo 4
วัฏจักรน้ำ
การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยเริ่มต้นจากน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ ลำคลองหนอง บึง ทะเลสาบ จากการคายน้ำของพืช จากการขับถ่ายของเสียของสิ่งมีชีวิต และจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระเหยขึ้นไปในบรรยากาศ กระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ เป็นก้อนเมฆ ตกลงมาเป็นฝนหรือลูกเห็บสู่พื้นดินไหลลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ หมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ               ระบบนิเวศ (Ecosystem)  หมายถึง หน่วยพื้นที่หนึ่งประกอบด้วยสังคมของ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ร่ว...