ยินดีต้อนรับ สู่บทความรู้ เรื่องระบบนิเวศ

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

1. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ แบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ
1. เป็นความผูกพัน พึ่งพากัน หรือส่งผลต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง
2. เป็นความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตที่แวดล้อมมันอยู่
ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์ทั้ง 2 ประการนี้ จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน และมีอยู่ในทุกระบบนิเวศและความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมก็คือ การถ่ายทอดพลังงานและการแลกเปลี่ยนสสารซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์อย่างมีระเบียบภายในระบบ
ทำให้ระบบอยู่ในภาวะที่สมดุลนั้นคือการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะได้พลังงานโดยตรงมาจากดวงอาทิตย์
ซึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์จะถูกตรึงไว้ในชีวบริเวณด้วยขบวนการสังเคราะห์แสงของพืชสีเขียว ทำให้มีการเจริญเติบโตและเป็นอาหารให้กับสัตว์ขณะเดียวกันตลอดระยะเวลาของการเติบโตของพืชสีเขียว มันก็จะปล่อยก๊าซออกซิเจนที่เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการหายใจของพืชและสัตว์ตัวอย่างของการถ่ายทอดพลังงาน
และการแลกเปลี่ยนสสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ



  2. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกันทำให้เกิดการอยู่ร่วมกัน เรียกว่า ภาวะซิมไบโอซิส(Symbiosis) สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต่างก็มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยมีผลรวมของความสัมพันธ์ 3 แบบ คือ – เมื่อเสียประโยชน์ + เมื่อได้รับประโยชน์ 0 เมื่อไม่ได้รับหรือเสียประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งแบบของความสัมพันธ์ได้หลายแบบดังนี้
1. ภาวะเป็นกลาง (Neutralism) 
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีผลอะไรต่อกัน ต่างฝ่ายต่างไม่ได้รับประโยชน์และไม่เสียประโยชน์ เช่น ต้นไม้ใหญ่กับไส้เดือนดิน กระต่ายและนกฮูกที่อาศัยอยู่ในป่า เป็นต้น
2. ภาวะการแข่งขัน (Competition -/-)
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันมีความต้องการปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน และปัจจัยนั้นมีจำกัดหรือต่างแข่งขันกันเพื่อแสวงหาปัจจัยที่ต้องการในการดำรงชีพ โดยต่างฝ่ายต่างเสียประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ เช่น ต้นไม้ที่ปลูกรวมอยู่ในเนื้อที่จำกัดพยายามเจริญสูงขึ้นเพื่อรับแสงแดด ฝูงปลาแย่งกันตะครุบเหยื่อ สุนัขแย่งกินอาหาร เป็นต้น โดยทั่วไปการแข่งขันระหว่างสิ่งมีชีวิตเดียวกันมักจะรุนแรงมากกว่าระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด
3. ภาวะอะเมนลิซึม (Amenlism 0/-)
ภาวะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น ต้นไม้ใหญ่บังแสงต้นไม้เล็ก ทำให้ต้นไม้เล็กไม่เจริญขณะที่ต้นไม้ใหญ่ไม่ได้รับหรือเสียประโยชน์แต่อย่างใด
      4. ภาวะการล่าเหยื่อ (Predation +/-)
ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (Predator)ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถูกล่า หรือเหยื่อ เช่น นกกินแมลง งูกินกบ เสือชีต้าล่ากวางกินเป็นอาหาร
      5. ภาวะอิงอาศัย หรือภาวะมีการเกื้อกูล (Commensalism +/0)
ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความสัมพันธ์ที่ได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เช่น เหาฉลามเป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีอวัยวะสำหรับดูดเกาะติดปลาฉลาม อาศัยกินเศษอาหารจากปลาฉลาม โดยไม่ได้ดูดเลือดหรือทำอันตรายใดๆ แก่ปลาฉลาม
เฟิร์นกับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเฟิร์นเป็นต้นไม้ใหญ่ที่อาศัยบนต้นไม้อื่น แต่ไม่เบียดเบียนต้นไม้อื่น เพียงแต่อาศัยร่มเงาและความชื้น เพื่อการดำรงชีวิต
       6. ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation +/+)
ความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์และอยู่แยกกันได้ เช่นในธรรมชาติเราอาจเห็นเถาวัลย์ พลูด่าง เฟิร์น กล้วยไม้เจริญอยู่บนลำต้นและกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ ลักษณะการเกาะของพืชพวกนี้จะอยู่บริเวณผิวของเปลือกต้นไม้ ไม่ได้มีการเบียดเบียนอาหารจากต้นไม้ใหญ่แต่อย่างใด ใช้ต้นไม้ใหญ่ได้ความชื้นจากต้นไม้ที่มาขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น
มดดำกับเพลี้ยอ่อน ซึ่งมดดำจะดูดน้ำเลี้ยง (อาหาร) จากเพลี้ยอ่อนทางทวารหนักและคาบเพลี้ยอ่อนไปวางตามที่ต่าง ๆ เพื่อหาแหล่งดูดน้ำเลี้ยงต่อไป ซึ่งทำให้เพลี้ยอ่อนได้แหล่งอาหาร ใหม่ ๆ
นกเอี้ยงที่อาศัยกินแมลงบนผิวหนังควายเป็นอาหาร เนื่องจากความได้ประโยชน์จากการที่นกช่วยลดจำนวนแมลงที่เป็นปรสิตของควาย จัดเป็นความสัมพันธ์แบบการได้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างควายกับนกเอี้ยง
      7. ภาวะพึ่งพากัน (Mutualism +/+)
ความสัมพันธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์และอยู่แยกกันไม่ได้ เช่น ไลเคน(Lichen) เป็นสิ่งมีชีวิตสองชนิด คือ รากับสาหร่ายพบตามเปลือกต้นไม้ชนาดใหญ่ การอยู่ร่วมกันนี้ทั้งสาหร่ายและราต่างได้รับประโยชน์ กล่าวคือสาหร่ายสร้างอกหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ส่วนราก็ได้อาศัยดูดอกหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น
ต่อไรกับลูกไทร ต่อไทรเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดอกไทร มีลักษณะพิเศษที่อัดตัวกันแน่นจนมองคล้ายลูกไทร ภายในลูกไทรมีทั้งดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้ และ ดอกกัล ซึ่งเป็นดอกที่ตัวต่อไทรเข้าไปอาศัยอยู่ ต่อไทรจะทำหน้าที่ผสมเกสรให้โดยบินออกจากลูกหนึ่งไปผสมยังอีกลูกหนึ่ง ทำให้ต้นไทรยังคงสืบพันธุ์ต่อได้ ต่อไทรจะอาศัยในลูกไทรตลอดชีวิตวนเวียน เป็นวัฏจักรตลอดไป
      8. ภาวะปรสิต (Paratism +/-)
ร่างกายของสิ่งมีชีวิตสามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ดำรงชีพแบบปรสิต ผู้ถูกอาศัย (Host) จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วนผู้ที่ไปอาศัย คือ ปรสิต (Parasite) จะเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์เนื่องจากปรสิตจะคอยแย่งอาหาร หรือกินส่วนของร่างกายผู้ถูกอาศัย
ปรสิตแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
8.1 ปรสิตภายใน (Endoparasite) คือ ปรสิตที่อาศัยอยู่และหาอาหารอยู่ภายใน
ร่างกายของผู้ถูกอาศัย เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิตัวกลมเป็นปรสิตภายในของมนุษย์
8.2 ปรสิตภายนอก (Ectoparasite) คือ ปรสิตที่อาศัยและเกาะดินอยู่ภายนอก
ร่างกายของผู้ถูกอาศัย เช่น เหา ยุง เป็นปรสิตภายนอกของมนุษย์
นอกจากนี้ยังมี กาฝากกับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งกาฝากเป็นพืชที่อาศัยบนต้นไม้อื่น โดยไชชอนรากเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ที่อาศัยอยู่
ความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งของเห็ด รา และแบคทีเรียอาศัยซากสิ่งมีชีวิตโดยการหลั่งเอนไซม์ออกมานอกเซลล์ (Exoenzyme) เพื่อย่อยสลายซากเหล่านั้น แล้วจึงดูดซึมสารที่ได้จากการย่อยเข้าสู่เซลล์ในรูปของเหลว สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตเช่นนี้เรียกว่า ผู้ย่อยสลาย (Decomposer)
        9. ภาวะมีการหลั่งสารห้ามการเจริญ (Antibiosis 0/-)
เป็นภาวะที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งหลั่งสารออกมานอกเซลล์ แล้วสารนั้นไปมีผลต่อการ เจริญเติบโต หรือการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เช่น ราเพนิซิลเลียม (Penicillium) สร้างสารเพนิซิลเลียมไม่ได้รับหรือเสียประโยชน์ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Microcystis sp.) หลั่งสารเคมีชื่อไฮดรอกซิลเอมีน (Hydroxylamine) ลงสู่น้ำในบ่อ มีผลทำให้สัตว์ที่ดื่มน้ำนั้นตาย

1 ความคิดเห็น:

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ               ระบบนิเวศ (Ecosystem)  หมายถึง หน่วยพื้นที่หนึ่งประกอบด้วยสังคมของ สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ร่ว...